ภาวะหัวใจวาย (HEART ATTACK) เป็นต้นเหตุสำคัญ ที่คร่าชีวิตชายหญิง โดยเกิดจากเส้นเลือด ที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน เนื่องจากมีแผ่นไขมันอุดตัน


ช่วงระหว่างปี ค.ศ.1970 จนถึงปี ค.ศ.1980 นัก วิจัยพยายามค้นคว้าหาหนทาง แก้ไขปัญหานี้ แล้วพบว่าชาวเอสกิโม ที่อาศัยอยู่บนเกาะกรีนแลนด์ แถบขั้วโลกเหนือ ซึ่งมีอากาศหนาวเย็น จนน้ำแข็งจับ และมีอาชีพส่วนใหญ่เป็นชาวประมง มีวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์คือ รับประทานปลาเป็นอาหารหลัก นั้นมีอัตราการเกิดโรคหัวใจต่ำที่สุดในโลก ทั้ง ๆ ที่ปัญหาการดื่มสุรามาก นักโบราณคดีด้านมนุษยศาสตร์ (Anthropologist) สันนิษฐาน ว่า ที่มนุษย์เรามีวิวัฒนาการ มาตามลำดับเป็นเวลาหลายพันปีนั้น ดำรงชีวิตอยู่ด้วย อาหารส่วนใหญ่ที่มีกรดไขมัน อันเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย คือ กลุ่มกรดไขมัน ที่รวมเรียกชื่อว่า "โอเมก้า - 3" (Omega -3-fats) ซึ่งพบมากในปลา โดยเฉพาะปลาทะเลธัญพืช และเมล็ดพืช (Nut and seeds) บางชนิด รวมทั้งพืชผักใบเขียว ต่อมาเมื่อเวลาผ่านพ้นไป คนเรารับประทาน อาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า - 3 น้อยลงจนเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลายชนิด นับตั้งแต่โรคหัวใจวาย โรคครรภ์เป็นพิษ (Preclampsia) โรคไขข้ออักเสบชนิดรูห์มาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) รวมทั้งโรคอื่น ๆ อีกมาก แม้แต่โรคซึมเศร้า (Depression) และความก้าวร้าว


ร่างกายของเราต้องการกรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty acid) ในการมีชีวิตอยู่ อย่างมีประสิทธิภาพ สองชนิด กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า - 3 นั้น เป็นหนึ่งในกลุ่มกรดไขมัน ที่ร่างกายมนุษย์ขาดไม่ได้ สารสำคัญที่อยู่ในกลุ่มโอเมก้า - 3 นี้แบ่งได้เป็นสองชนิดใหญ่ คือ ชนิดที่หนึ่งได้แก่พวก EPA และ DHA

(EPA ย่อมาจาก EICOSAPANTAENOIC ACID)
(DHA ย่อมาจาก DOCOSAHEXANOIC ACID)

ซึ่งพบมากในปลาอ้วน ๆ ใต้ทะเลลึก เช่น ปลาซาลมอน และแม็คเคอเรล (SALMON AND MACKEREL ซึ่งมีไขมันที่เรียกว่า FISH OIL น้ำมันปลา (มิใช่น้ำมันตับปลา) จำนวนสูงกว่าปลาน้ำจืด ส่วนชนิดที่สองชื่อ กรดอัลฟาไลโนเลอิก (ALPHA - LINOLEIC ACID) ซึ่งเป็นกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า - 3 ซึ่งพบมากในอาหารพวกธัญพืช ร่างกายของเราสามารถเปลี่ยนแปลงกรดไขมันที่มีอยู่ในพืชตัวนั้น ให้เป็นกรด ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า คือ EPA และ DHA น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันตัวนี้สูง คือ Canola oil และ FAXSEED oil ส่วนพืชพวกข้าวโพด, ถั่วเหลือง, เมล็ด ทานตะวัน และผลิตภัณฑ์ทางอาหาร ที่ทำจากพืชและน้ำมันพวกนี้ เช่น เนยเทียม ย่อมมีกรดไขมันที่มีประโยชน์ตัวนี้อยู่มากเช่นกัน อย่างไรก็ตาม นักวิจัยด้านโภชนาการเสนอแนะว่า ร่างกายคนเราควรได้รับ กรดไขมัน ทั้งสองชนิด ในสัดส่วนที่สมดุลกัน เช่น หนึ่งต่อหนึ่ง คือ มิใช่ว่า รับประทานกรดไขมัน ชนิดหนึ่ง สูงกว่าอีกชนิดหนึ่ง


กลไกการทำงานของกรดไขมันในร่างกายเรานั้นเชื่อกันว่า เกี่ยวข้องกับ การทำงานของ เซลล์ทุกชนิดของร่างกายโดยเฉพาะ DHA ซึ่ง พบมากในน้ำนม และรกอั นเป็นแหล่งสำคัญ ของการผลิตฮอร์โมนสำหรับทารกในครรภ์นั้น มีความสำคัญในการเจริญเติบโต ของสมองของทารกเช่นเดียวกับเซลล์ชนิดอื่น ๆ ทุก ๆ วัน ร่างกายของคนเรา ผลิตสารกลุ่มหนึ่ง ที่มีคุณสมบัติ คล้ายฮอร์โมน ชื่อ "EICOSANOIDS" สารกลุ่ม นี้มี ส่วนเกี่ยวข้อง ในการควบคุม ระบบการแข็งตัวของเลือด การหดตัวของหลอดเลือด และการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ซึ่งเป็นกลุ่มกล้ามเนื้อ ที่อยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย และอยู่นอกกการบังคับด้วย เส้นประสาท ชนิดที่บังคับแขนขา คือ เป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ ระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น กล้ามเนื้อของมดลูก นอกจากนี้ สารนี้ ยังจำเป็นในกรณีที่ ร่างกายเกิดการอักเสบ เพราะต่อสู้กับเชื้อโรคหรือความผิดปกติต่าง ๆ ในการผลิตกลุ่มสารชื่อ EICOSANOIDS นี้ร่างกายต้องใช้วัตถุดิบ คือ ทั้งกรดไลโนเลอิก (Linoleic acid) และ กลุ่มโอเมก้า - 3 แต่ถ้าร่างกายได้รับกลุ่มโอเมก้า - 3 น้อยไป และมีกรดไลโนเลอิก เป็นสัดส่วนเกินพอดี เมื่อเทียบกับกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า - 3 แล้ว ร่างกายของเรา ย่อมมีปัญหา เกี่ยวกับลิ่มเลือดแข็งตัว ปวดท้องน้อยเวลามีประจำเดือน และข้ออักเสบ ดังกล่าว


เวลานี้ นักวิจัยยังไม่เสนอข้อตกลงที่แน่นอน ว่าคนเราควรได้รับสารกลุ่มกรดไขมันโอเมก้า - 3 เป็น จำนวนเท่าใด เพื่อนแพทย์คนหนึ่งเล่าให้ฟังว่าหลังจากที่เขาซื้อปลาทะเล เช่น ซาลมอน มารับประทานทุกวันระดับโคเลสเตอรอล ที่สูงเกินปกติไปมากนั้น ได้ลดลงต่ำกว่าระดับเดิม จนอยู่ในขั้นปกติ ภายในเวลา 3 เดือน เท่านั้น แต่ทั้งนี้ต้องรวมทั้งการออกกำลังกายด้วย ส่วนปลาที่เขาซื้อมารับประทานนั้น เป็นปลาที่จับจากทะเล มิใช่ปลาเลี้ยง ดิฉันไม่ทราบว่า ปลาจากสองแหล่งนั้น มีจำนวนกรดไขมันโอเมก้า - 3 มาก น้อยกว่ากัน จนคุ้มกับราคาปลา ราคาถูกแพงต่างกันหรือไม่ อย่างไรก็ตาม จากรายงานที่ส่งเสริมการรับประทานปลาทะเล รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่สกัดมา ซึ่งวางขายตามหิ้งของร้านขายยา ซึ่งมีชื่อว่า "น้ำมันปลา" (Fish oil) นั้น มีมากมาย เป็นต้นว่า

* ในกลุ่มเด็ก 468 คนในทวีปออสเตรเลีย ซึ่งได้รับประทานปลาทะเล ที่อุดมด้วย กรดโอเมก้า - 3 อย่างน้อยหนึ่งครึ่งต่อสัปดาห์ เป็นกลุ่มที่เป็นโรคหอบหืดน้อยกว่า กลุ่มเด็กที่รับประทานปลาถึง 25 เปอร์เซ็นต์ (Medical Journal Australia Feb 5-1996)
* ที่เมืองซีแอตเติล สตรีจำนวน 324 คน ที่รับประทานปลา โดยเฉพาะปลาซามอล ไม่ว่าในรูปอบหรือย่าง อย่างน้อยสองครั้งต่อสัปดาห์ มีอัตราการเกิดโรคข้ออักเสบ ชนิดรูห์มาตอยด์ต่ำลง ส่วนสตรีที่เกิดปัญหานี้ ถ้าได้รับน้ำมันปลา ในรูปผลิตภัณฑ์ เม็ดอาหารเสริม จะมีอาการอักเสบของข้อลดลง (Epidemiology May 1996)
* สตรีที่ปวดท้องช่วงมีประจำเดือนมากเพราะมีการผลิตสารกลุ่ม EICOSANOIDS สูง จนทำให้เกิดมดลูกหดตัวอย่างมาก อาการเจ็บปวดจะลดลง เมื่อเธอรับประทาน น้ำมันปลาเป็นเวลาสองเดือน (ทดลองในกลุ่มสตรี 37 คน ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนน้อย American Journal of OB-GYN April 1996 )
* กลุ่มมารดาที่ตั้งครรภ์ ถ้ารับประทานอาหารที่มีกรดโอเมก้า - 3 จะเกิด ปัญหา ทางการตั้งครรภ์เป็นพิษต่ำลง (Epidemiology May 1995)
* ส่วนโรคลำไส้เล็กอักเสบเรื้อรัง และมะเร็งเต้านมนั้น การได้รับอาหาร กลุ่มกรดไขมันโอเมก้า - 3 ซึ่งมีพวก EPA และ DHA สูง ช่วยทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีอาการดีขึ้น และเกิดอาการกำเริบน้อยลง (New England Journal of Medicine June 13 1996)
*

ส่วนเรื่องเกี่ยวกับหัวใจ กรดไขมันกลุ่มนี้ช่วยทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ มีกลไกการปั้มเข้าออก สารต่าง ๆ เช่น แคลเซียม, โซเดียมคลอไรด์และประจุไฟฟ้าอื่น ดำเนินไปอย่างปกติ เพื่อควบคุมการยืด และหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ด้วยเหตุนี้ถ้ากรดโอเมก้า - 3 ขาดหายไป การเต้นของหัวใจ ย่อมผิดปกติ เรียกว่า การเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) ซึ่งเป็นสาเหตุการตายที่พบบ่อย และเกิดแทรกซ้อนหลังจากหัวใจวายดังปรากฏในการทดลองกับกลุ่มผู้ชาย 295 คน ที่เมืองซีแอตเติล ที่รับประทานปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง จะมีอัตราการเกิด ภาวะหัวใจล้มเหลว เนื่องจากการเต้นหัวใจผิดจังหวะ เพียงครึ่งหนึ่งของกลุ่ม ที่ ไม่รับประทานอาหารแบบเดียวกัน ส่วนในประเทศอังกฤษ ผู้ชายจำนวน 883 คน ที่เคยมีอาการหัวใจวายแล้ว ดำรงชีวิตต่อมาเป็นเวลา 2 ปี โดยการรับประทานอาหาร กลุ่มที่มีไขมัน โคเลสเตอรอลต่ำ และรับประทานปลาทะเล ที่มีกรดไขมันพวกนี้ อยู่เป็นจำนวนมาก อย่างน้อยสองถึงสามครั้งต่อสัปดาห์ ผู้ชายกลุ่มนี้มีอัตราตายลดลง 29 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ดูแลตนเองทางโภชนาการดังกล่าว (Lancet Sept 30 1989) ส่วนชายชาวฝรั่งเศส ที่เคยมีปัญหาเดียวกันจำนวน 289 คนนั้น มีอัตราตายจากโรคหัวใจลดลง ถึง 81 เปอร์เซ็นต์ใน 5 ปี ถ้ารับประทานอาหารดังกล่าว รวมทั้งพวกเนยเทียมที่ทำจาก Cainola oil (Lancet June 11 1994)


นอกจากนี้ เยื่อหุ้มเซลล์ในสมองมีส่วนประกอบที่เป็นสารกรด DHA ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเหตุนี้จิตแพทย์ Dr.Joseph R.Hibbeln แห่ง National Institute on Alcohol Abuse and Alcoholism เชื่อว่าถ้าปริมาณสารกรด DHAใน เยื่อหุ้มเซลล์ของสมองต่ำลง ย่อมก่อให้เกิดปัญหาในการสื่อสารทางสมอง จนเกิดความผิดปกติทางด้านอารมณ์ โดยเฉพาะทางซึมเศร้า เพราะเขาเฝ้าติดตามดูในคนไข้ที่มีปัญหานี้ และนักศึกษาชาวญี่ปุ่น 22 คน